วันอาทิตย์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2554

วันพฤหัสบดีที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2554

สงกรานต์ปีนี้ที่เมืองเดช




   สงกรานต์ เป็นประเพณีของคนไทยที่ยึดถือปฏิบัติสืบทอดกันมาเป็นเวลานาน อันที่จริงไม่ใช่เฉพาะคนไทยในประเทศไทยเท่านั้น ที่ถือว่าประเพณีสงกรานต์มีความสำคัญ คนที่พูดภาษาตระกูลไท ก็ยึดถือปฏิบัติเช่นเดียวกัน เช่น ประเทศลาว คนไทยใหญ่ในประเทศพม่าที่ชายแดนติดกับภาคเหนือของไทย คนจีนที่พูดภาษาตระกูลไท ในแค้วนยูนนาน เป็นต้น
สงกรานต์ เป็นคำที่ชาวบ้านทั่วไปนิยมใช้ แต่คำเต็ม ๆ คือ ตรุษสงกรานต์ ซึ่งจะได้กล่าวในรายละเอียด ดังนี้
     ตรุษ แปลว่า ตัด หรือ ขาด หมายถึง ตัดปี ขาดปี หรือสิ้นปี ดังนั้น ตรุษ จึงหมายถึงพิธีแสดงความยินดีที่ปีเก่าผ่านไป การมีชีวิตรอดมาตลอดปีได้ ก็มีการแสดงความยินดี คนไทยแต่ก่อนนับเดือน เมษายน เป็นเดือนสิ้นปี และเริ่มปีใหม่ พิธีทำบุญวันตรุษ จะทำ 3 วัน คือ เมื่อถึงเดือน 4 วันแรม 14 ค่ำ แรม 15 ค่ำ และวันขึ้น 1 ค่ำ ของเดือน 5 จะมีการนิมนต์พระมาสวด และมีการทำบุญ ถวายอาหารและขอพรจากพระ เพื่อเป็นสวัสดิมงคล สันนิฐานว่าคนไทยรับนับถือพุทธศาสนา เลยทำแบบอย่างพิธีทำบุญวันตรุษตามแบบอย่างของลังกามาด้วย
     ส่วน สงกรานต์ แปลว่า การย้ายที่ หรือ เคลื่อนที่ หมายถึง พระอาทิตย์ย้ายที่หรือเคลื่อนเข้าสู่ราศีใหม่ ซึ่งก็หมายถึง การขึ้นปีใหม่นั่นเอง คนจึงแสดงความยินดีที่มีชีวิตยืนยาวย่างเข้าสู่ปีใหม่ จึงต้อนรับปีใหม่ วันปีใหม่จะเป็นวันที่ 13, 14, และ 15 เมษายนของทุกปี
     วันที่ 13 เมษายน เรียกว่า วันมหาสงกรานต์ วันที่ 14 เรียกว่า วันเนา และวันที่ 15 เรียกว่า วันเถลิงศก ทางภาคเหนือ เรียกต่างกันไปบ้าง แต่ก็เข้าใจง่ายดี ดังนี้ วันที่ 13 เมษายน เรียกว่า วันสังขารล่อง คงหมายถึง ร่ายกาย จิต วิญญาณเก่า ๆ ของปีเก่ากำลังผ่านพ้นไป วันที่ 14 เมษายน เรียกว่า วันเน่า ส่วนวันที่ 15 เมษายน เรียกว่า วันพญาวัน ซึ่งก็หมายถึงวันสำคัญวันแรกของปีใหม่นั่นเอง
เรื่องของสงกรานต์ มีตำนานปรากฏในจารึกวัดพระเชตุพน กล่าวถึงมูลเหตุแห่งสงกรานต์ สรุปได้ว่า
     มีเศรษฐีคนหนึ่งถูกนักเลงสุราใกล้บ้านที่มีลูกหน้าตาหมดจด 2 คน มากล่าวหาหยาบคายว่า ร่ำรวยก็สู้เขาไม่ได้ แม้ยากจนก็ยังมีลูกสืบสกุล ตายแล้วก็สูญเปล่า เศรษฐีจึงไปบนบานศาลกล่าวที่ต้นไทร ริมแม่น้ำ ซึ่งเป็นวันสงกรานต์ พระอินทร์จึงให้ธรรมบาลเทวบุตรมาปฏิสนธิในครรภ์ภรรยาเศรษฐี เมื่อคลอดมา ชื่อ ธรรมบาลกุมาร บิดาปลูกปราสาทเจ็ดชั้นให้อยู่ใต้ต้นไทรนั้น ธรรมบาลเฉลียวฉลาด เรียนจบไตรเพท เมื่ออายุ 7 ขวบ และรู้ภาษานกด้วย ท้าวกบิลพรหมจึงมาทดลองความรู้ โดยถามปัญหา 3 ข้อ ถ้าตอบได้ จะตัดศีรษะบูชา คือ
  1. เช้าราศีอยู่ที่ไหน
  2. เที่ยงราศีอยู่ที่ไหน
  3. ค่ำราศีอยู่ที่ไหน
ภายใน 7 วันจะมาฟังคำตอบ ธรรมบากลุมาร คิดไม่ออก ถึงวันที่ 6 จึงแอบหนีจากปราสาทไปหลบอยู่ใต้ต้นตาลใหญ่ 2 ต้น ซึ่งพญาอินทรีผัวเมียทำรังอยู่บนนั้น
     ตอนค่ำนางนกอินทรีถามผัวว่า พรุ่งนี้จะได้อาหารที่ไหนกิน ผัวตอบว่า จะได้กินศพธรรมบาลกุมาร เพราะจะแพ้ตอบปัญหากบิลพรหมไม่ได้ จะถูกตัดหัว เมื่อนางนกอินทรีถามปัญหาว่าอย่างไร และคำตอบว่าอย่างไร พญาอินทรีเฉลยปัญหาให้เมียฟังว่า
  1. ตอนเช้าราศีอยู่ที่หน้า มนุษย์จึงเอาน้ำล้างหน้าตอนเช้า
  2. ราศีอยู่ที่อก มนุษย์ทั้งหลายจึงเอาเครื่องหอมมาปะพรมที่อก
  3. ราศีอยู่ที่เท้า มนุษย์จึงล้างเท้าก่อนนอน
     ธรรมบาลได้ฟังนกอินทรีผัวเมียสนทนาจึงกลับมาประสาท พอวันรุ่งขึ้นกบิลพรหมก็มาถามปัญหา ธรรมบาลก็ตอบตามที่ได้ยินจากพ่อนกอินทรี กบิลพรหมแพ้จึงต้องตัดศีรษะตามสัญญา แต่ศีรษะของกบิลพรหมมีฤทธิ์อำนาจมาก ถ้าตกถึงพื้น จะเกิดไฟไหม้ทั่วโลก ถ้าทิ้งบนอากาศฝนจะแล้ง ถ้าโยนลงน้ำ มหาสมุทรจะเหือดแห้งไปทันที จึงให้ธิดาทั้งเจ็ดเอาพานมารับศีรษะไว้ แห่รอบเขาพระสุเมรุ แล้วเชิญไปไว้ในมณฑปในถ้ำคันธธุลี เขาไกรลาส เมื่อครบ 365 วันหรือ 1 ปี นางทั้งเจ็ดจัดเวรกันมาเชิญศีรษะกบิลพรหมออกมาแห่รอบเขาพระสุเมรุ โดยกำหนดว่า วันที่ 13 เดือนเมษายน คือวันมหาสงกรานต์ ตรงกับวันใด ธิดาประจำวันนั้นก็จะป็นผู้อัญเชิญพาน ดังนี้
  • วันอาทิตย์ นางสงกรานต์ชื่อ ทุงษะ
  • วันจันทร์ นางสงกรานต์ชื่อ โคราค
  • วันอังคาร นางสงกรานต์ชื่อ รากษส
  • วันพุธ นางสงกรานต์ชื่อ มัณฑา
  • วันพฤหัสบดี นางสงกรานต์ชื่อ กิริณี
  • วันศุกร์ นางสงกรานต์ชื่อ กิมิทา
  • วันเสาร์ นางสงกรานต์ชื่อ มโหทร
     สงกรานต์เป็นประเพณีที่ชาวไทยทั่วประเทศปฏิบัติสืบต่อเป็นประเพณีมาช้านาน ตั้งแต่วันที่ 13 เมษายน จนถึงวันที่ 15 เมษายน ชาวบ้านจะทำบุญตักบาตร ปล่อยนก ปล่อยปลา และสรงน้ำพระทั้งพระพุทธรูป และพระสงฆ์ แล้วก็จะรดน้ำ มีการเล่นสาดน้ำและเล่นกีฬาพื้นบ้าน
     
    ปัจจุบันนี้ความเชื่อเหล่านี้ยังหลงเหลืออยู่แต่ในชนบทเท่านั้น เพราะคนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการเล่นสาดน้ำสงกรานต์มากกว่า  น้ำแข็ง น้ำเย็นเข้ามาแทนที่น้ำอบไทย แป้งและปืนฉีดน้ำคือเสน่ห์ใหม่ของสงกรานต์ ถนนข้าวสารในกรุงเทพ ถนนรอบคูเมืองเชียงใหม่ ถนนข้าวเหนียวในจังหวัดขอนแก่น ล้วนสะท้อนวิถีใหม่ของสงกรานต์ซึ่งในปัจจุบันมีถนนที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า"ข้าว"มีอยู่ประมาณ 16ที่แล้ว ที่วัยรุ่นมากมายสนุกสนานครื้นเครงร่วมกันตลอดวัน และยังมีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นคือ เป็นถนนที่มีการเล่นสงกรานต์ปลอดเหล้ามากขึ้นเรื่อยๆ

                                                                   ภาพน้ำตกหน้าฝน
     ภาพน้ำตกหน้าแล้ง
                                                  ฤดูน้ำหลาก
                                                     กรุ๊ปทัวร์หน้าแล้งคนจากเมืองพุท
                                                     
          น้ำตกถ้ำบักเตว หรือน้ำตกห้วยหลวง ณ อุทยานแห่งชาติภูจองนายอย ตั้งอยู่ที่บ้านแก้งเรือง อำเภอนาจะหลวยเป็นน้ำตกขนาดใหญ่ สูงราว 30 เมตร ด้านล่างมีแอ่งน้ำและลานหินและทราย ขนาดใหญ่พอสมควรเป็นที่พักผ่อนอีกที่หนึ่งที่น่าสนใจของจังหวัดอุบลราชธานี
ณ แนวตะเข็บชายแดนรอยต่อ 3 ประเทศ ไทย ลาว และกัมพูชา ด้วยสภาพภูมิประเทศเป็นที่ราบสูง อุดมสมบูรณ์ไปด้วยผืนป่าที่มีความหลากหลายของพืชพรรณต่าง ๆ อาทิ กล้วยไม้ป่า ดอกไม้ ลานหิน ธารน้ำตก ปรากฏการณ์ธรรมชาติทางธรณีวิทยาอีกมากมายที่น่าสนใจ พื้นที่ดังกล่าวถูกจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติภูจองนายอย อุทยานแห่งชาติ ลำดับที่ ๕๓ เนื้อที่ประมาณ ๔๒๘,๗๕๐ ไร่ ในเขตอำเภอบุณฑริก อ.นาจะหลวย และ อ.น้ำยืน จ.อุบลราชธานี
      ชื่อดั้งเดิมของน้ำตกแห่งนี้ คือ “น้ำตกถ้ำบักเตว” มีที่มาจาก ในอดีตชาวบ้านจะเข้ามาหาของป่าในนี้ โดยที่ถ้ำใต้ผาหินใกล้น้ำตกมีผึ้งหลวงอาศัยทำรังอยู่ วันหนึ่ง นายเตวและกลุ่มเพื่อนก็เข้ามาตีผึ้งเก็บน้ำหวานที่ถ้ำใกล้น้ำตกแห่งนี้ โดยใช้เถาวัลย์โรยตัวลงมาและให้เพื่อนจับไว้แต่ด้วยเหตุที่นายเตวตีผึ้งหลวงโดยไม่ได้จุดธูปขอเจ้าป่าเจ้าเขาก่อนเพื่อนที่จับเถาวัลย์จึงกลับมองเห็นเถาวัลย์เป็นงูใหญ่ เลยตกใจฟันไปบนตัวงูจนขาดร่างของนายเตวจึงตกลงไปตายอยู่ก้นเหวนั้นตั้งแต่นั้นมาน้ำตกแห่งนี้ก็ได้ชื่อว่า “น้ำตกถ้ำบักเตว”
       ต่อมา พ.ศ. ๒๕๓๕ ได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็นน้ำตกห้วยหลวง ตามชื่อลำธารต้นน้ำ เพราะทุกปีจะมีคนมาสังเวยชีวิตจากการพลัดตกหน้าผา หรือจมน้ำทุกปี และวันหนึ่ง ญาติของนายเตวมาร้องขอว่า นายเตว มาเข้าฝัน ขอให้เปลี่ยนชื่อน้ำตกเพราะชื่อนั้นถือเป็นการลบหลู่สิ่งศักดิ์สิทธิ์บริเวณนี้ และภายหลังจากได้เปลี่ยนชื่อแล้วก็ไม่ปรากฏอุบัติเหตุอีกเลย
     ต้นจอง หรือที่เรารู้จักกันในชือ "สำรอง"
     ภูจอง นายอย
     เจ้าหน้าที่ บอกว่า ต้นจอง ต้นไม้ชนิดนี้นับอายุกันที่ใบ คือเมื่อมันอายุได้ 1-2 ปี ใบจะเป็นรูปใบโพธิ์ พอโตขึ้น 2-4 ปี จะมีใบ 3 แฉก คล้ายเมเปิ้ล แต่ถ้า 4-6 ปี มีใบ 5 แฉก โตขึ้นกว่านี้ใบก็จะกลับมาเป็นรูปใบโพธิ์เหมือนเดิม นานๆ สัก 40-50 ปี กว่าจะมีลูกให้เก็บกินได้สักครั้ง “ที่นี่เขาเรียกหมากจองหรือสำรองในภาษากลาง ทางใต้เขาเรียกว่าพุงทะลาย เป็นประเภทพืชสมุนไพร หรืออาหารเสริมนอกจากที่จันทบุรีก็มีที่นี่แหละที่มีต้นสำรองเยอะที่สุด” และนั่นก็เป็นที่มาของชื่อภูจอง อันหมายถึงภูที่มีต้นสำรองมากนั่นเอง
      ส่วน นายอย จนท. บอกว่า นายอย กร่อนคำมาจาก น้ำย้อย เพราะในป่าเบญจพรรณแถบเทือกเขาพนมดงรักที่เป็นที่ตั้งของอุทยานแห่งนี้ มีแหล่งน้ำลำธารที่ค่อนข้างอุดมสมบูรณ์มากทั้งลำโดมน้อยลำโดมใหญ่แถมภูผาในป่ายังมีน้ำซึมซับหยดย้อยออกมาเป็นลำธารอีกมากมาย





วันจันทร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2554